วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

        ภาษีมลูค่าเพิ่มจัดเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการ  ตลอดจนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ฉะนั้นถือว่าผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าสินค้าหรือให้บริการเมื่อใดได้มีการนำเข้าเกิดขึ้นเมื่อใดเรียกว่าจุดความรับผิดในการเสียภาษีมลูค่าเพิ่ม (Tax  point  )  ความรับผิดกรณีรับขายสินค้า ความรับผิดกรณีการให้บริการ  ความรับผิดกรณีนำเข้า และการรับความผิดในการขายสินค้า หรือ การให้บริการบางกรณี

1. การขายสินค้า: ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการกระทำต่อไปนี้ก่อนการมอบสินค้าให้ถือว่า ความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ
- มีการโอนกรรมสิทธิสินค้า ก่อนการส่งมอบสินค้า
- ได้รับชำระราคาสินค้า ก่อนการส่งมอบสินค้า
- ได้มีการออกใบกำกับภาษี ก่อนการส่งมอบสินค้า

2. การให้บริการ: ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการ เว้นแต่มีการกระทำต่อไปนี้ก่อนการได้รับชำระค่าบริการก็ให้ถือว่า ความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ
- เมื่อมีการออกใบกำกับภาษี ก่อนได้รับชำระค่าบริการ
- ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ

3. การนำเข้าสินค้า: ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อได้ชำระค่าอากรขาเข้า วางหลักประกันอากรขาเข้าจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า เว้นแต่ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาเข้า
 

ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มีรายรับตั้งแต่ 1,800,000 บาทต่อปีมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าผู้ประกอบการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นไปตามเงื่อนไขของประมวลรัษฎากร การขายสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะจดทะเบียนเมื่อผู้ประกอบการมีรายรับครบ 1,800,000 บาท หรือจดก่อนถึง 1,800,000 บาทก็ได้ เมื่อได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจะมีหน้าที่หลักที่สำคัญคือ
      
       1. ต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
      
       2. ต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่จุดความรับผิดเกิดขึ้น
      
       3. ต้องยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
      
        จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเกิดขึ้นแล้วผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติ 3 ข้อดังกล่าวข้างต้น ปัญหาก็คือ อะไรคือจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้า ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้ามีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
      
          (1) การขายสินค้านอกจากที่อยู่ในบังคับตาม (2) (3) (4) หรือ (5) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้าก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย

     
       (ก)โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
      
       (ข) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
      
       (ค) ได้ออกใบกำกับภาษี
      
       ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
      
        (2) การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยัง ผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
      
       (ก) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
      
       (ข) ได้ออกใบกำกับภาษี
      
       ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้น ตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
      
       (3) การขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้าและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
      
       (ก) ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าให้ผู้ซื้อ
      
       (ข) ตัวแทนได้รับชำระราคาสินค้า
      
       (ค) ตัวแทนได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
      
       (ง) ได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น
      
       ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้น ตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
      
       (4) การขายสินค้าโดยส่งออก ให้ความรับผิดเกิดขึ้นดังต่อไปนี้
      
       (ก) การส่งออกนอกจากที่ระบุใน (ข) หรือ (ค) ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออก วางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก แล้วแต่กรณี ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออก ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
      
       (ข)การส่งออกในกรณีที่นำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากรให้ความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่นำสินค้าในราชอาณาจักร เข้าไปในเขตดังกล่าว
      
       (ค) การส่งออกซึ่งสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ความรับผิดเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
      
        (5) การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ที่เป็นการขายสินค้าหรือ การให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าอันทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า
      
       ประมวลรัษฎากรได้ออกหลักเกณฑ์เพื่อเป็นการบรรเทาภาระในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน สำหรับการขายสินค้าแก่กระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าตามสัญญาและมีการชำระราคาที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดความรับผิดตาม (1) (2) และ (3) เกิดขึ้นเป็นอย่างอื่นได้
      
        สิ่งสำคัญในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจะต้องทราบก็คือ จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด ซึ่งผู้ประกอบการจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น







สมาชิกกลุ่ม

1.        นางสาวกนกวรรณ     ทองน้อง      เลขที่ 2       ปวช.3        บช.1

2.        นางสาวจิรายุ       พิมพ์สวัสดิ์         เลขที่ 7       ปวช.3        บช.1

3.        นางสาวจีรนันท์      แดงประดับ     เลขที่ 8       ปวช.3        บช.1

4.        นางสาวซาเนีย     สืบสุข                 เลขที่ 9       ปวช.3        บช.1

5.        นางสาวฌัชชา     ขาวพิมล              เลขที่ 10     ปวช.3        บช.1

6.        นางสาวฐิติรัตน์     ดนูวัส                เลขที่ 11     ปวช.3        บช.1

7.        นางสาวดวงดี      สุขสาลี                เลขที่ 12     ปวช.3        บช.1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น